Kanamara Festival
เทศกาลแห่จู๋ ..!!!
เข้าช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นจะมีเทศกาลที่ขึ้นชื่อมากๆเทศกาลหนึ่ง มีชื่อเรียกกันว่า Kanamara Matsuri (Kanamara Festival) หรือเทศกาลแห่จู๋ หรือเทศการแห่ปลัดขิก แห่ห๋ำ แห่ลึงค์ แห่ไอ้นั่น แห่กระเจี๊ยบ แห่….ฯลฯ วุ๊ย..!! เรียกยากลำบากใจ จะเรียกอะไรก็เรียกไปเถอะนะ มาคุยถึงเทศกาลแห่….นี้กันดีกว่า…..
เทศกาลนี้มีมานานมากแล้วตั้งแต่สมัตเอโดะโน่น (ก่อนทศวรรษที่ 1600) เป็นส่วนหนึ่งในศาสนพิธีของศาสนาชินโต โดยจะจัดขึ้นเฉพาะวันอาทิตย์ ในสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน ของทุกปี (ซึ่งปีนี้ วันเทศกาลจะตรงกับวันที่ 2 เมษายน 2017) ที่เลือกจำกัดเฉพาะวันอาทิตย์นั้น ก็เพื่อความสะดวกของผู้เข้าร่วมพิธีนั่นแหละ
เรื่องเล่าอันยาวนาน…ของเทศกาลแห่จู๋..
เล่าคร่าวๆให้ฟังว่า….ในสมัยก่อนนั้น ยังมีการเปิดขายบริการโสเภนีกันอย่างแพร่หลาย (หรือที่หลายๆคนรู้จักกันในชื่อว่า เกอิชา) สมัยก่อนนั้นยังไม่มีความรู้ในเรื่องของโรคที่เกิดขึ้นทางเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ มากมาย รวมถึงโรคเอดส์ด้วย ครั้นจะไปหาหมอก็ได้กินแต่ยาสมุนไพร รักษาหายก็ช้า และด้วยความเชื่อเรื่องผีสางก็ยังคงมีอยู่ เหล่าน้องๆที่ขายบริการทั้งหลาย ก็เลยนิยมมาไหว้ขอพรที่ศาลเจ้า Kanayama shrine (金山神社) เพื่อขอให้หายจากโรคภัยดังกล่าว ซึ่งศาลเจ้า คะนะยะมะ นั้นมีชื่อเสียงในเรื่องการขอพร ที่เกี่ยวกับครอบครัว และความรักของสามีภรรยา เรื่องธุรกิจการค้าขาย และมาขอพรเพื่อให้คลอดบุตรได้ง่าย แต่อีกความเชื่อหนึ่งยังเชื่อกันว่าในสมัยนั้น มีปีศาจตนหนึ่ง เกิดไปตกหลุมรักหญิงสาวในหมู่บ้านเข้า แต่หญิงสาวเจ้าไม่สนใจปีศาจตนนั้น และได้หนีไปแต่งงานกับคนรักของเธอ ส่งผลทำให้ปีศาจตนนั้นโกรธมาก อยากจะขัดขวางความรักของหญิงสาวคนนั้นจึงได้เข้าไปสิงอยู่ใน (ช่องคลอด) ของหญิงสาว เมื่อหญิงสาวได้ร่วมหลับนอนกับผู้ที่เป็นสามี จะถูกปีศาจร้ายออกมากัดกินองคชาตของสามี จนทำให้สามีของเธอนั้นเสียชีวิต ด้วยความหวาดกลัว เหล่าชาวบ้านจึงได้ไปขอร้องกับช่างตีเหล็ก ที่อยู่ในศาลเจ้า ให้ช่วยทำองคชาตจากเหล็ก เพื่อที่จะหลอกปีศาจร้าย และเมื่อปีศาจร้ายออกมากัดกินองคชาต ด้วยองคชาตนั้นทำจากเหล็ก ฟันของปีศาจร้ายจึงหักไป และไม่สามารถไปทำร้ายใครได้อีก …… ด้วยเหตุผลนี้เอง สิ่งเทียมองคชาตผู้ชาย หรือที่บ้านเราเรียกว่าปลัดขิก นั้นเชื่อกันว่ามีอานุภาพขับไล่ปีศาจร้ายได้ ผู้คนจึงเริ่มบูชาปลัดขิกนับแต่นั้นเป็นต้นมา … นอกจากนั้น ที่ศาลเจ้าแห่งนี้ยังเชื่อกันอีกด้วยว่า เป็นที่ประทับของเทพเจ้าแห่งช่างตีเหล็ก คือผู้ที่ทำองคชาตเทียมจากเหล็ก ไปปราบปีศาจร้ายนั่นเอง….
เทศกาลแห่จู๋…Kanamara Festival
เทศกาลแห่จู๋ จริงๆแล้ว เป็นแค่เทศกาลที่จัดขึ้นเล็กๆ ในเมือง คาวาซากิ จังหวัดคานางาวะ แต่ด้วยความบังเอิญว่ามีชาวต่างชาติ ได้มีโอกาสเข้าร่วมขบวนแห่ในงานเทศกาลนี้ด้วย ทำให้เทศกาลนี้ได้ถูกเผยแพร่ออกไป และเป็นที่นิยมกันอย่างมากจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะเป็นเทศกาลพิธีที่ดูแล้วไม่สุภาพ แต่คนญี่ปุ่นเองก็ยังคงมีความเชื่อว่า ถ้าได้เข้าร่วมขบวนแห่ หรือได้สัมผัสปลัดขิกทั้งสามอันที่อยู่ในขบวนแห่ (และอีกอันที่ศาลเจ้า) จะทำให้ชีวิตครอบครัวสงบร่มเย็น ทำให้มีลูกง่าย หรือสมหวังในเรื่องของการมีลูก นั่นเอง
เทศกาลแห่จู๋ Kanamara Festival จะมีขบวนแห่ 3 ชุด อันประกอบไปด้วย
1.かなまら舟神輿 (Ka namara fune mikoshi)
ขบวนแรกเปิดตัวด้วยปลัดขิกสีดำ เป็นปลัดขิกซึ่งทำจากเหล็ก ตั้งตระหง่านอยู่ในเกี้ยวเรือสีทอง
ขบวนแรกนี้ แบกหามโดยเหล่าชายหนุ่มที่นุ่งผ้าเตี่ยว เชื่อกันว่า การได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้แบกเกี้ยวปลักขิกสีดำอันนี้ จะทำให้สุขภาพ กำลังวังชา และอวัยวะของเขาจะมีสุขภาพที่ดี แข็งแรงดุจเหล็กที่ใช้ปราบปีศาจ (ส่วนตัวแอดมินคิดว่า ปลัดขิกสีดำอันนี้มีความหมายคือขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้พ้นไป เป็นตัวแทนของการขจัดปัดเป่า-ปราบปีศาจร้าย เหมือนในเรื่องเล่าข้างต้นนั่นแหละ)
2.エリザベス神輿 ( Erizabesu mikoshi)
ขบวนที่สอง ตามมาติดๆด้วย ปลัดขิกสีชมพู ก่อนถูกประดับด้วยผ้าลูกไม้สีขาวนิดหน่อย (เกี้ยวอลิซาเบตนี้จะถูกหามด้วยสาวประเภทสอง ในชุดสีชมพู)
ขบวนนี้ ได้รับการระดมทุนสร้างขึ้นโดยสมาคมสาวประเภทสอง และกลุ่มคนรักร่วมเพศในญี่ปุ่น โดยระหว่างแบก จะตะโกนคำว่า かなまら!でっかいまら! (Ka namara! Dekkai ma-ra!) ไปตลอดเส้นทาง
(แอดมินคิดว่า ปลัดขิกสีชมพูเป็นตัวแทนของความรัก ความสุข ความสมหวังในความรัก และสมหวังในการมีลูกนะ)
3.かなまら大神輿 (ka namara dai mikoshi)
ขบวนที่สาม เป็นปลัดขิกไม้ ที่เก่าแก่ที่สุดในพิธี
(แอดมินคิดว่า ตัวแทนจากไม้ สื่อความหมายว่า มั่นคงแข็งแรง มีชีวิตยืนยาว และประสปความสำเร็จในหน้าที่การงาน)
ส่วนที่นอกเหนือจากขบวนแห่จู๋ คือ จู๋เหล็ก ที่ตั้งอยู่ในศาลเจ้า “Kanayama Shrine” ทรงแปดเหลี่ยม ที่โครงสร้างนั้นทำจากเหล็กทั้งหมด เชื่อกันว่าป็นศาลเจ้าของเทพเจ้าแห่งช่างตีเหล็ก หรือช่างตีเหล็กของพระเจ้า
金山神社社殿 (Kanayama jinja shaden)
อ่านรายละเอียด และเรื่องราวของประเพณีกันไปแล้ว ลองไปดูบรรยากาศงานเทศกาล Kanamara Festival ของปี 2015 กันนะ ว่ามันน่าสนุกขนาดไหน..!!!
หลังจากเดินเที่ยวดูจู๋ ที่มีเยอะแยะมากมาย ทั้งอันใหญ่อันเล็ก ให้ถ่ายรูปกันอย่างสนุกสนานแล้ว ก็ยังมีผู้คนมากมาย มาแต่งตัวชุดคอสเพลย์ ที่เกี่ยวกับจู๋ มาเดินร่วมในขบวนแห่ด้วย นอกจากนั้นเทศกาลนี้ยังมีของกินรูปจู๋ เช่นอมยิ้มรูปจู๋ ขนมปัง ไอติมจู๋ กล้วยชุบช็อกโกแลต ทำเป็นรูปจู๋ หรือจะเป็นของฝาก เช่นเสื้อสกรีนลายจู๋ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าคลุม เทียนก็ทำเป็นรูปจู๋ ของเล่นที่เกี่ยวกับจู๋ก็มีวางกันเยอะมากๆเช่นกัน มีการแกะสลักหัวไชเท้าให้เป็นรูปจู๋ด้วย ใครได้ไปเดินเที่ยวเดินเล่นในงาน คงเดินเที่ยวได้ทั้งวันเพลินๆเลยล่ะ…
ในปัจจุบันเทศกาลแห่จู๋ นอกเหนือจากการจัดขึ้นเพื่อรักษาประเพณีและวัฒนธรรมแล้ว เทศกาลนี้ ยังเป็นเทศกาลที่ช่วยระดมทุนเพื่อนำไปรักษาและวิจัยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกด้วยนะ
เทศกาลแห่จู๋ ไม่ได้มีที่เดียว…
นอกจากเทศกาลแห่จู๋ ที่จัดขึ้นในเมืองคาวาซากิแล้ว ยังมีเทศกาลแห่ที่คล้ายๆกันอีก คือเทศกาล 豊年祭 (Hōnen matsuri) จัดขึ้นที่จังหวัดไอจิ (ทุกวันที่ 15 ในเดือนมีนาคมของทุกปี) เป็นเทศกาลที่มีความหมายในเรื่องของฤดูกาลเก็บเกี่ยว การทำการเกษตร ทั้งยังมีการจัดขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ เมืองคาวาซากิเลยทีเดียว
อยากจะไปเที่ยวงานแห่จู๋ ไปยังไง…
จากโตเกียว นั่งรถไฟ JR ไปลงสถานี Kawasakidaishi Station ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับวิธีการเดินทางด้วยนะ) พอมาถึงหน้าสถานี Kawasakidaishi Station เดินออกมาหน้าสถานีก็ถึงแล้ว…
งานเทศกาลแห่จู๋ จะเริ่มงานตั้งแต่ 10 โมงเช้า ไปจนถึง บ่ายสี่โมงเย็น (16.00 น.) ไม่เสียค่าเข้าชม จ้า (ปล.ช่วงเช้าจะเป็นงานพิธีกรรม จะเริ่มแห่จู๋ กันก็ช่วงบ่ายโมงได้)
ข้อมูลเพิ่มเติม…
https://www.facebook.com/kanamarasama/
Wikipedia https://goo.gl/imhJNa