ทราบกันหรือเปล่าว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ให้กำเนิด “karoshi” ซึ่งแปลว่า การตายจากการทำงานหนัก โดยคำนี้ถูกคิด
ขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปี 1970s ประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีวัฒนธรรมการทำงานที่ตึงเครียดมากที่สุดประเทศหนึ่งใน
โลก และเราก็ได้เห็นข่าวอันน่าสะเทือนใจในปีที่ผ่านๆ มาเกี่ยวกับพนักงานออฟฟิศซึ่งเสียชีวิตเพราะทำงานล่วงเวลา นอก
จากนี้พนักงานยังไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมเนื่องจากอยู่ใน Black Company อีกด้วย

ถึงแม้ว่าเวลาเคลื่อนผ่านมาเป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว ชาวญี่ปุ่นก็ยังประสบปัญหานี้อยู่ ประเด็นคือมันเกิดขึ้นในจำนวนที่
น่าตกใจซึ่งเหตุการณ์นี้นับเป็นหนึ่งในหลักฐานที่สื่อให้เห็นว่าการทำงานในประเทศญี่ปุ่นอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำลาย
สุขภาพและชีวิตของคนในประเทศ

อย่างไรก็ตาม มีผู้ใช้ทวิตเตอร์คนหนึ่งชื่อว่า @zunda_no_omochi ออกมาเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์การรับเช็คเงิน
ค่าจ้างครั้นยังเป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง โดยเล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนเขามีอายุ 22 ปี เขาเคยทำโอทีถึง 171 ชั่วโมง
และหลังจากหักภาษีออก เขาได้เงินทั้งสิ้น 227,000 เยน (เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยของชาวญี่ปุ่น ก็ยังนับว่าน้อย)
แล้วในแต่ละเดือน เขาทำโอทีไม่ต่ำกว่า 120 ชั่วโมง แต่ไม่เคยได้รับโบนัสเลยสักครั้ง (บริษัทหลายที่ในญี่ปุ่นให้โบนัส
พนักงานปีละ 2 ครั้ง คือในเดือนมิถุนายน และธันวาคม) เขาอาศัยอยู่ในหอพักพนักงาน ไปเยี่ยมครอบครัวแค่ปีละ
2 ครั้ง รายได้ต่อปีของเขาอยู่ที่ 2,800,000 เยน และเมื่อหักภาษีออก มันเหลือเพียง 1,790,000 เยนเท่านั้น

ที่สำคัญคือเมื่อเขาเอาเรื่องนี้ไปปรึกษากับหัวหน้า หัวหน้ากลับตอบว่าเขาไม่รู้หรอกว่าโลกนี้มันโหดร้ายแค่ไหน
แม้ว่าเงินค่าจ้างคุณจะน้อย แต่คุณก็ต้องมาทำงานและก้มหน้าอดทนไป พอเขาได้ยินหัวหน้าบอกเช่นนี้ เลยตัดสิน-
ใจลาออก

เช็คค่าจ้างที่เขานำมาแสดงในทวิตเตอร์คือตั้งแต่สมัยปี 2009 ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อปี ปรากฏคือ
มันน้อยกว่าตั้ง 990,000 เยน (อ้างจาก OECD ที่กล่าวว่ารายได้ครัวเรือนเฉลี่ยคือ 2,780,000 เยน) คุณลองคิดดูว่า
น้อยมากแค่ไหนถ้าเทียบกับค่าใช้จ่ายของคนคนหนึ่งที่ต้องใช้ในแต่ละเดือน

 

หลังจากที่เขานำเรื่องราวในอดีตมานำเสนอ ก็มีผู้ใช้ทวิตเตอร์มาออกความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์กล่าว คำหนึ่งที่โผล่
มาแล้วกระตุกต่อมสนใจคือคำว่า Black Company หรือภาษาญี่ปุ่นคือ buraku kigyō ブラック 企業(きぎょう)
ซึ่งหมายถึงบริษัทที่ละเมิดสิทธิของแรงงาน ไม่พอเท่านั้นแต่ยังสร้างบรรยากาศที่ทำให้เกิดความทุกข์ ทั้งการทำให้อับอาย
ต่างๆ รวมไปถึงการให้เงินเดือนต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งเป็นการเอารัดเอาเปรียบพนักงานในบริษัท ซึ่งมันไม่เหมือนกับ
สถานการณ์แรงงานในโรงงานนรกในประเทศโลกที่สามนะ เพราะแรงงานแบบนั้นจะเรียกว่า Blue Collars ส่วน buraku
kigyō
จะใช้กับ White Collars หรือคนที่ทำงานในออฟฟิศ โดยสร้างขึ้นโดยกลุ่มพนักงาน IT เมื่อตอนต้นศตวรรษที่ 21

ในปี 2012 กลุ่มคนจำนวนหนึ่งซึ่งมีอาชีพเป็นนักข่าว นักเคลื่อนไหว และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเคยรวมตัวกันรวบรวม
รายชื่อบริษัทและมอบรางวัล “Black Corporations Award” ซึ่งเปิดให้สาธารณชนโหวตว่าบริษัทไหนเลวร้ายที่สุด
จุดประสงค์ที่ทำคือต้องการให้คนทั่วไปเห็นถึงปัญหานี้และต้องการเปิดโปงว่าบริษัทไหนที่ไม่ดูแลหรือละเมิดสิทธิพนักงาน
ในบริษัท ปัจจุบันเราก็ยังเห็นอยู่ว่ายังมีการจัดอันดับบริษัทที่แย่ที่สุดอยู่ (ประกาศรายชื่อบริษัทในปี 2019 แล้ว) แต่อย่างไร
ก็ตามเราไม่รู้เลยว่าญี่ปุ่นมีกฏหมายที่เข้มงวดมากแค่ไหนที่จะจัดการกับบริษัทแบบนี้เพราะเท่าที่เห็นในข่าวก็ยังเห็นอยู่ว่า
ปัญหานี้มันยังไม่หมดไปเสียที

การตั้งใจทำงานหรือการทำงานหนักนั้นเป็นเรื่องที่ดีตราบใดที่ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ทีนี้มันจึงน่าคิด
ว่าหากมันเกิดการสูญเสียแล้ว เราควรเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการยกย่องชื่นชมการทำงานหนักที่มันเอ็กซ์ตรีมขนาดนี้
จะดีกว่าหรือไม่ พนักงานบริษัทบางคนเคยออกมาสารภาพว่าถึงแม้เขาจะได้วันลาถึง 20 วัน แต่ก็ลาเพียง 2 วันเท่านั้น
เนื่องจาก “บรรยากาศ” ในที่ทำงานมันไม่เอื้อให้ลาพักมากกว่านี้ ปัจจัยที่ทำให้คนญี่ปุ่นไม่ยอมลางานแม้สามารถทำได้
คือความรู้สึกผิดเพราะได้รับความคาดหวังว่าจะต้องทำงานหนัก นอกจากนี้ยังมีระบบชนชั้นในบริษัทที่กดทับผู้น้อยซึ่ง
ส่งผลเสียทั้งร่างกายและจิตใจอีกด้วย

ถึงเวลาแล้ว (ถึงเวลามานานมากแล้วแหละ) ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานที่สูบวิญญาณของคนในประเทศเสียที

 


ที่มา

https://www.japantimes.co.jp/news/2017/11/27/national/nominees-announced-japans-sixth-annual-black-company-awards/#.XktlhhozYdU

https://www.tofugu.com/japan/japanese-black-companies/

https://soranews24.com/2020/02/18/wage-hell-japanese-office-worker-reveals-soul-crushing-past-paycheck-for-171-hours-of-overtime/

https://www.bbc.com/worklife/article/20200114-how-the-japanese-are-putting-an-end-to-death-from-overwork

views