เพราะหลีกเลี่ยงความโดดเดี่ยวไม่ได้
(บทความนี้เปิดเผยเรื่องราวหลักและตอนจบ)
Death Stranding เป็นเกมแอคชั่นที่พัฒนาโดย โคจิม่า โปรดักชั่นส์ (KOJIMA PRODUCTIONS) ซึ่งถูกปล่อยมา
ในปี 2019 นับว่าเป็นเกมแรกที่ ฮิเดโอะ โคจิม่า และทีมของพวกเขาสร้างขึ้นหลังจากที่ได้แยกตัวจากโคนามิ (Konami)
ซึ่งเป็นค่ายเกมเก่าที่โคจิม่าเคยร่วมงานด้วย
กระแสเกมนี้เรียกได้ว่าฮือฮามากนับตั้งแต่ได้ข่าวว่าโคจิม่าจะสร้างเกมจากสตูดิโอตัวเอง มาจนถึงการปล่อยเทรลเลอร์
เกมซึ่งสร้างความฉงนให้กับเกมเมอร์ทั้งหลาย (รวมถึงเราที่ก็เกิดความรู้สึก อิหยังวะ เมื่อดูจบ) ว่าเกมนี้มันเกี่ยวกับอะไร
กันแน่ หรือจนกระทั่งวางขายใน PS4 คนก็ยังตั้งคำถามกับเนื้อเรื่องว่ามันเป็นยังไงเพราะมันมีความซับซ้อนอยู่พอสมควร
เลยทีเดียว
ถึงจะสร้างความงุนงงให้ใครหลายคน แต่เกมนี้ก็การันตีความว้าวซ่าด้วยการคว้ารางวัลของ The Game Awards 2019
ถึง 3 รางวัล โดยมี Best Performance (Mads Mikkelsen แสดงเป็น Cliff Unger) Best Score & Music และ Best
Game Direction ซึ่งถือว่าไม่ใช่น้อยๆ เลยทีเดียว
สิ่งที่ตามมาหลังจากที่เกมถูกปล่อยออกมาแก่สาธารณชนคือการดีเบตกันว่าเกมนี้มันควรค่าแก่การพูดถึงมากมายขนาดนี้
เลยหรือไม่ แถมความเห็นของผู้เล่นที่ได้หลังจากเล่นเกมนี้ทั่วโลกก็ไม่ไปในทิศทางเดียวกัน เดี๋ยวบอกว่าเบื่อสุดๆ เดี๋ยวบอก
ว่าเจ๋งมากจนอยากให้ทุกคนได้ลองสัมผัสด้วยตัวเอง นับว่าเสียงแตกออกไปหลายสายจนไม่รู้ว่าจะเชื่อใครดี และด้วยความ
ที่รู้ว่าสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น ก็เลยขอลงสนามเองไปดูเองสักหน่อย จะได้รู้ดำรู้แดงไปเลยว่าตกลงแล้วมันดีจริงๆ หรือไม่
ได้เรื่องอย่างที่คนอื่นพูดกันบ้างหรือเปล่า
เกมนี้เล่าเรื่องของการรวมประเทศอเมริกาให้เป็นหนึ่งเดียวหลังจากเกิดภัยพิบัติหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า “Death Stranding” ทำให้
เส้นแบ่งระหว่างความเป็นและความตายมารวมกัน โดยความตายจึงมาเยือนถึงหน้าประตูบ้านของคนเป็น ผู้คนสูญเสียการ
เชื่อมต่อของกันและกัน ทำให้บางพื้นที่กลายเป็นเขตโดดเดี่ยว ไร้ความช่วยเหลือ ซ้ำยังมีพวกสิ่งมีชีวิตจากความตายมา
คอยรังควานตามพื้นที่ต่างๆ ทำให้ต้องมีอาชีพสำคัญ คือ คนส่งของ (Porter) ซึ่งทำหน้าที่ส่งเครื่องมืออุปโภคบริโภค
หรือแม้กระทั่งส่งพิซซ่า (นับว่าเป็นอารมณ์ขันท่ามกลางวันสิ้นโลกจริงๆ) ให้กับคนในแต่ละพื้นที่พระเอก อย่าง แซม
พอร์เตอร์ บริดเจส (Sam Porter Bridges/ หรือ Norman Reedus ตัวละครสุดเท่จากซีรีส์ The Walking Dead) ก็เป็น
นักส่งของเช่นเดียวกัน และด้วยความที่มีพลังพิเศษอย่างการฟื้นคืนชีพจากความตาย จึงได้มาทำหน้าที่เชื่อมประเทศให้
เป็นหนึ่งอีกครั้ง
ก่อนที่จะมองว่าเกมนี้มันดีหรือไม่ดียังไง ขอพูดถึงสิ่งแรกที่ประทับใจนั่นก็คือภาพและการเคลื่อนไหวของตัวละครในเกม
รวมถึงซีนต่าง ๆ ที่ทำออกมาได้ละเอียดและสวยงามมาก ทั้งเอฟเฟกต์ยามตัวละครขนลุก หรือฉากของประเทศอเมริกา
ก็สวยงามจนน่าประทับใจ ด้วยความที่เราจะได้เล่นเป็นพระเอกที่จะได้ไปส่งของตามเมืองต่างๆ จึงต้องผ่านทุ่งรกร้างซึ่ง
มีฉากข้างหลังเป็นทิวเขากว้างใหญ่ (เกิดความรู้สึก Sublime ที่แท้) ทำให้เห็นประเทศที่กำลังผุพัง แต่ความงามของธรรม-
ชาติก็ยังสวยงามไม่เปลี่ยน นอกจากนี้เกมยังมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่างปุ่มยืนฉี่ที่เราจะฉี่ตรงไหนก็ได้ หรือคัตซีนที่
แทรกอะไรตลกๆ ให้เราได้หลุดขำออกมาบ้างตามสไตล์ของทีมพัฒนาเกม และการเปิดโหมด “รวมกันเราอยู่” ของนักส่ง-
ของ ซึ่งก็คือผู้เล่นทั่วโลกที่สามารถสร้างสะพาน สร้างของเพื่อแบ่งเบาภาระของผู้เล่นด้วยกันเองได้ด้วย ถือว่าเป็นการ
จำลองวันสิ้นโลกจริงๆ ว่าถ้าอยากรอดชีวิตก็ต้องร่วมมือกัน
อีกเรื่องหนึ่งที่เด่นมากสำหรับเกมนี้คือเอกลักษณ์ในการเล่าเรื่อง (Story telling) ที่ชวนให้ติดตาม หรืออย่างน้อยมันก็
สร้างความงุนงงมากพอที่เราอยากจะติดตามต่อไปว่าจะเกิดอะไรขึ้น รายละเอียดบางอย่างที่คิดว่ามันจะหมดแล้วแต่ก็
ยังเพิ่มขึ้นมาอีก แต่ถึงจะเยอะมากแค่ไหนก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการที่ทำให้ผู้เล่นเข้าใจเรื่องราวหายนะนี้มากขึ้น รวมไปถึง
การตีแผ่ความสัมพันธ์ของตัวละครในเกมว่ามีความเป็นมาอย่างไรด้วย
โคจิม่าได้กล่าวถึงความคิดของเขาที่มีต่อเกมที่สร้างขึ้นเองว่า ตัวเขาเองมักรู้สึกเหงาเมื่ออยู่ในสังคม แล้วก็มีคนอีกมาก
มายที่เล่นเกมนี้ที่รู้สึกแบบเดียวกัน โคจิม่าต้องการให้ผู้เล่นแชร์ความรู้สึกอันลึกซึ้งของการอยู่ตัวคนเดียวขณะที่พยายาม
จะเชื่อมต่อโลก นอกจากนี้ยังพูดอีกว่า โลกใบนี้สวยงาม แต่ผู้เล่นก็เล็กเหมือนเป็นแค่จุดๆ หนึ่ง ทำให้รู้สึกสิ้นหวังและไร้
พลังอำนาจแถมยังรู้สึกเหงาอีกด้วย (“What Hideo Kojima Wants You to Learn From Death Stranding”,
Matthew Gault, แปลโดย MeiSherlie) ประโยคนี้ก็เชื่อมกับเหตุการณ์ที่เขาแยกตัวจากโคนามิ และต้องเผชิญกับทาง
เดินที่ตนเองเลือกหลังจากตัดสินใจว่าจะทำการเปิดโปรดักชั่นส์เอง เกมนี้จึงเป็นเหมือนกระจกสะท้อนความคิดความอ่าน
ของโคจิม่า หรือความในใจที่อยากจะพูดถึง ไม่แน่เขาอาจต้องการเน้นย้ำว่าการเชื่อมโยงกันระหว่างมนุษย์นั้นเป็นเรื่อง
สำคัญ เกมของโคจิม่า โปรดักชั่นส์ จึงไม่เป็นเพียงแค่เกมเพื่อเอนเตอร์เทนผู้เล่น แต่แฝงไปด้วยปรัชญาชีวิตด้วย
แซม บริดเจสก็ต้องเชื่อมต่อกับคนอื่นเพื่อเชื่อมต่อประเทศ ในวันที่รัฐผุพัง ทุกคนต้องเชื่อมต่อถึงกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกัน
และกัน นี่คือเป็นการแก้ปัญหาที่เลี่ยงไม่ได้
แต่อย่างไรก็ตาม เราอดไม่ได้ที่จะสังเกตอะไรบางอย่างในเกม โดยเฉพาะอุปกรณ์การเชื่อมต่อของพระเอกกับคนในองค์กร
ที่เห็นแล้วตงิดใจเพราะมันดีไซน์ออกมาในรูปแบบของกุญแจมือ อุปกรณ์นั้นทำหน้าที่เหมือนโทรศัพท์หรือที่สำหรับแชร์ข้อมูล
ออนไลน์ ถ้าจะให้ตีความสัญลักษณ์ กุญแจมือที่เป็นทั้งเครื่องมือเชื่อมต่อแซมกับคนในองค์กรก็คงจะหมายถึงการไร้อิสระ
เหมือนนักโทษที่ถูกจองจำ เพราะไม่ว่าเขากำลังจะทำอะไร ก็จะมีคนเข้ามาแทรกเสมอ (บางทีขี่มอเตอร์ไซค์ส่งของอยู่ก็มีคน
โทรเข้า) ทั้งคนที่คอยเล่าเรื่องราว (ซึ่งการเล่าให้แซมฟัง ก็เหมือนเล่าให้คนเล่นฟังด้วย) หรือคนที่คอยไหว้วานให้แซมไปทำ
ภารกิจเสี่ยงอันตราย ฉะนั้นการที่เรามีคอนเนคชั่นกับใครก็ตาม ย่อมตามมาด้วยความคาดหวัง และสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยง
ฉะนั้นสิ่งที่โคจิม่าอยากให้เรารู้สึกเมื่อได้เห็นอุปกรณ์นี้คือการตระหนักรู้หรือเปล่าว่าการเชื่อมต่อระหว่างตัวเรากับคนอื่น
ก็ไม่ต่างจากการถูกขังสักเท่าไร และในท้ายที่สุด แซม บริดเจส ผู้ที่เลือกจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวกับ ลู (Lou) เพื่อนร่วมทาง
ตัวน้อย ก็ตัดสินใจถอดกุญแจมือออกเท่ากับว่าทิ้งการเชื่อมต่อระหว่างตัวเองกับคนอื่น หรือก่อนหน้านี้ แซมก็แสดงจุดยืน
อย่างชัดเจนว่าต้องการปฏิเสธการเชื่อมต่อด้วยการเซย์โนกับคำเสนอที่มีคนชวนเขาไปร่วมงานด้วยกัน
ทำไมการตัดสินใจว่าจะไม่เชื่อมต่อกับคนอื่นจึงเกิดขึ้นกับตัวละครหลักอย่างแซม เพราะถ้าสิ่งที่โคจิม่าต้องการเน้นย้ำว่า
สำคัญคือการเชื่อมต่อ แล้วทำไมแซมถึงทำเช่นนั้น ฉะนั้นสิ่งที่เราตระหนักได้จากการกระทำของตัวละครนี้คือ การเชื่อมต่อ
เปรียบเสมือนดาบสองคม เพราะการที่มีความสัมพันธ์ไม่ว่าจะมาในรูปแบบใด มันก็นับว่าเป็นภารกิจที่เราต้องรับมือและ
จัดการแลกกับการที่จะไม่ได้อยู่กับความโดดเดี่ยว หรือสูญเสียการเชื่อมต่อจากโลก บางทีการอยู่คนเดียวโดยเลือกที่จะ
เชื่อมต่อกับบางคนยังเจ็บปวดน้อยกว่า การเรียนรู้นี้ทำให้รู้สึกว่าเกมนี้มันไม่ใช่แค่เกม แต่เป็นเหมือนบันทึกบทเรียนที่โคจิม่า
สร้างเอาไว้ให้เราตระหนักรู้ว่าชีวิตมันก็มีทางเลือกขึ้นอยู่กับว่าเราจะตัดสินว่าจะกอบโกยความหมายอันไหน ไม่ต่างจาก
เวลาผู้เล่นในเกมที่สร้างเครื่องไม้เครื่องมือเป็นมรดกให้ผู้เล่นคนอื่น จะใช้หรือไม่ใช้ก็เรื่องของคุณ
ประเด็นเดียวจากเกมยังสาธยายได้ยาวนานขนาดนี้ แล้วก็เผลออวยไปจนได้
ฮิเดโอะ โคจิม่า และทีม พวกคุณโคตรเจ๋งเลย เอารางวัลไปเถอะ
เอกสารอ้างอิง
Gault, Matthew. “What Hideo Kojima Wants You to Learn From Death Stranding.” Time, Time, 8 Nov. 2019, time.com/5722226/hideo-kojima-death-stranding/.