“ปลาหมึกยัดไส้ข้าวเหนียว” เมนูท้องถิ่นที่ได้รับความนิยมจากทั่วทุกภูมิภาค

1 ปีแล้วกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า สำหรับคนญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ต่างประเทศแล้วนั้น คงจะมีจำนวนไม่น้อยที่คิดว่า “อยากกลับญี่ปุ่นจังเลย” กลับไปหาครอบครัว ไปกินอาหารอร่อย ๆ ในแต่ละพื้นที่ของญี่ปุ่น

และเมนูท้องถิ่นของญี่ปุ่นที่จะแนะนำในวันนี้ก็คือ “ปลาหมึกยัดไส้” หรือ Ika Meshi เป็นเมนูอาหารพื้นเมืองของฮาโกดาเตะ จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่นมักจะมีการจัดอีเวนท์รวบรวมอาหารอร่อยจากแต่ละภูมิภาคอยู่บ่อย ๆ และเมนูปลาหมึกยัดไส้ก็เป็นอีกหนึ่งเมนูที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในงานอีเวนท์นี้

ก่อนหน้านี้ เราได้เจอร้านขายปลาหมึกสด ๆ ในไทย จึงคิดว่าจะทำเมนูปลาหมึกยัดไส้และได้ลองหาสูตรอาหารดู แต่ไม่ว่าสูตรไหนก็ให้แช่ข้าวทิ้งไว้หนึ่งคืนทั้งนั้น ทั้ง ๆ ที่จินตนาการไว้ว่าจะได้กินปลาหมึกยัดไส้ในทันที แต่ถ้าเป็นตามสูตรที่เจอมาก็จะกลายเป็นว่าไม่ได้กินเมนูปลาหมึกยัดไส้วันนี้แน่ ๆ ! ฉันจึงไม่ยอมแพ้และตัดสินใจลองซื้อข้าวเหนียวจากร้านข้างทางมายัดไส้แทน และพบว่าข้าวเหนียวคือคำตอบที่ถูกต้อง ฉันได้นำไปให้เพื่อนสนิทที่เป็นคนฮาโกดาเตะชิมดู และได้รับการยืนยันมาแล้วว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้องจริง ๆ

ในช่วงนี้ที่ยังไม่สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศได้ เราลองมาทำเมนูอาหารท้องถิ่นของญี่ปุ่นกันดูไหม? ถึงแม้ว่าวัตถุดิบในไทยอาจจะยังทำให้เป็นเมนูที่สมบูรณ์แบบเหมือนต้นตำรับไม่ได้ แต่การลองทำเมนูนี้ดู อาจจะทำให้คุณคิดว่า “สักวันหนึ่ง ฉันจะต้องไปกินเมนูนี้แบบต้นตำรับที่ญี่ปุ่นให้ได้” ก็เป็นได้

Ika Meshi


ปลาหมึกยัดไส้ข้าวเหนียว 


ไม่เพียงเฉพาะเมนูปลาหมึกยัดไส้ หรือ Ika Meshi เท่านั้น หากคิดว่าจะทำอาหารญี่ปุ่นรสชาติต้นตำรับที่ไทย นอกเหนือจากต้องใช้เวลาในการทำแล้วนั้น เรื่องราคาวัตถุดิบที่ค่อนข้างสูงก็ทำให้ตัดสินใจลำบาก หากใช้ผลิตภัณฑ์ยามาโมริ ซึ่งผลิตจากวัตถุดิบของญี่ปุ่นที่ทั้งราคาถูก ใช้ง่ายและยังอร่อยได้รสชาติญี่ปุ่นแท้ ๆ อีกด้วยจึงเป็นอีกทางเลือกในการทำอาหารญี่ปุ่น และถ้าอยากให้เมนูนี้มีรสหวานเล็กน้อย แนะนำให้ใช้ซอสเทริยากิ จะทำให้เมนูปลาหมึกยัดไส้ข้าวเหนียวมีทั้งกลิ่นหอมของโชยุและรสหวานเล็กน้อยของซอสเทริยากิที่จะช่วยดึงรสชาติของปลาหมึกออกมาได้เป็นอย่างดี

อย่ารอช้า มาเริ่มกันเลยดีกว่า!

 

ส่วนผสม (สำหรับ 1 – 2  คน)

1. ปลาหมึก 1 ตัว น้ำหนักประมาณ 300 กรัม

2. ข้าวเหนียวที่หุงเรียบร้อยแล้วประมาณ 150 กรัม

3. ขิงสไลซ์ 3 – 4 ชิ้น

4. น้ำ 150 มิลลิลิตร

5. ซอสเทริยากิ ตรายามาโมริ สำหรับใส่ในข้าวเหนียว 1 ช้อนโต๊ะ (15 มิลลิลิตร) สำหรับตุ๋นปลาหมึก 1 ถ้วย (150 มิลลิลิตร)

ขั้นตอนการทำ

1. นำไส้ปลาหมึกออก จากนั้นนำปลาหมึกไปล้างให้สะอาด และซับให้แห้ง

2. ตัดหนวดปลาหมึกออกแล้วพักไว้ นำซอสเทริยากิ ตรายามาโมริ 1 ช้อนโต๊ะมาผสมกับข้าวเหนียวให้เข้ากัน หากคลุกแล้วเข้ากันยาก ให้นำไปอุ่นด้วยไมโครเวฟก่อน

3. นำข้าวใส่เข้าไปในตัวปลาหมึกแล้วกลัดด้วยไม้จิ้มฟัน แต่ไม่ควรกลัดแน่นเกินไปเพราะตอนนำไปต้มข้าวจะพองขึ้นอีก

4. ใส่ซอสเทริยากิ น้ำ และขิงลงไปต้มในกระทะ จากนั้นใส่ปลาหมึกลงไป ใช้ฟอยล์อลูมิเนียมปิดไว้ด้านบน ต้มด้วยไฟอ่อน ระหว่างต้มหมั่นกลับด้านปลาหมึกจนปลาหมึกสุก พอสุกแล้วให้ใช้ไฟกลางหรือไฟแรงต้มอีกครั้ง จนซอสเทริยากิงวด

5. นำมาหั่นเป็นชิ้น แล้วจัดใส่จานเป็นอันเสร็จเรียบร้อย


เคล็ดลับความอร่อย


เมนูปลาหมึกยัดไส้ ส่วนใหญ่จะใส่ข้าวสารลงไปก่อนแล้วค่อยนำไปต้ม ซึ่งยากในการควบคุมความนิ่มของข้าวและปลาหมึก หากใส่ข้าวและวัตถุดิบที่สุกแล้วลงไปจะทำให้สะดวกมากขึ้น อีกทั้งข้าวเหนียวที่หุงเรียบร้อยแล้วยังหาซื้อได้ง่ายในเมืองไทยด้วย จึงถือว่าเมนูนี้เป็นเมนูที่เหมาะกับเป็นประเทศไทยมาก

วิธีการทำไส้มีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการใช้เฉพาะข้าวเหนียวอย่างเดียว ข้าวเหนียวผสมกับข้าวธรรมดา หรือจะผสมผักและเห็ดลงไปด้วยก็ได้ ครั้งนี้เราเลือกทำเมนูแบบธรรมดาโดยใช้ข้าวเหนียวเพียงอย่างเดียว ส่วนปริมาณข้าวหรือเครื่องปรุงสามารถปรับได้ตามขนาดของปลาหมึก หากหั่นปลาหมึกให้มีขนาดเป็นชิ้นเล็กก็จะกินง่าย หรือกรณีที่ข้าวเหลือก็สามารถนำมาทำโอนิกิริย่างต่อได้ อร่อยไปอีกแบบ ส่วนคนที่ชอบซอสแบบธรรมดาไม่ข้นมากก็สามารถนำซอสเทริยากิที่งวดแล้วไปผสมกับน้ำซุปเมงทซึยุได้เช่นกัน


ซอสเทริยากิ ตรายามาโมริ ขนาด 220 มิลลิลิตร


ยามาโมริ ซอสที่มีประวัติยาวนานกว่า 130 ปี ผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิดของยามาโมริมีวางจำหน่ายในประเทศไทยเช่นเดียวกันกับที่มีจำหน่ายที่ญี่ปุ่น เช่น “ซอสเทริยากิ” เพียงแค่ราดก็สามารถลิ้มรสชาติเทริยากิแท้ ๆ ได้ มีทั้งขนาด 220 มิลลิลิตร 500 มิลลิลิตร และขนาด 1 ลิตรika


ติดตามสูตรลับความอร่อยของอาหารญี่ปุ่นได้ทาง www.facebook.com/YamamoriOfficialTH


บิบิมบับกระทะร้อน by Yamamori”คลิก

เมนูไก่สำหรับวันคริสต์มาส by Yamamori” คลิก

“แซลมอนย่างราดน้ำส้มสายชู by Yamamori” คลิก

views