รวมคำศัพท์น่ารู้! เคล็ดลับสำหรับติดตามซีรีส์ญี่ปุ่น
ปัจจุบันการติดตามผลงาน series ต่าง ๆ ไม่ได้จำกัดแค่การชมผ่านโทรทัศน์เท่านั้นแล้ว ในยุคที่มีความเร็วของข้อมูลเป็นแรงขับเคลื่อน แพลตฟอร์มออนไลน์ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ช่องต่าง ๆ ของญี่ปุ่นได้มีการเปิดให้ชมแบบออนดีมานด์และมีช่องทางรับชมออนไลน์กันมากขึ้น ใครไม่สะดวกดูเรียลไทม์ในเวลาออกอากาศ ก็สามารถมาย้อนชมได้ แถมบางที่ก็ยังสามารถชมย้อนหลังได้ทันทีหลังออกอากาศจบด้วย
ช่องทางเหล่านี้จึงถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับแฟนต่างชาติในการติดตามดู แต่ถึงอย่างนั้นหลายบริการก็ยังจำกัดแค่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น มันเลยเป็นความรู้สึกดีใจ แต่ก็ไปไม่สุดอยู่เหมือนกัน
ไม่เป็นไร! แฟนสายญี่ปุ่นอย่างเราแข็งแกร่ง เราตามข่าวได้ ดูไม่ได้เราก็แอบอ่านจากแฟนญี่ปุ่นก่อนจะรอให้มีผู้ใจดีซื้อมาฉายให้ชมกันแบบถูกต้อง ฉันสู้ค่ะ !
หลัก ๆ ในการตามข่าวสาร นอกจากทาง Official Website แล้ว สื่อโซเชียลมีเดีย หรือที่ญี่ปุ่นนิยมเรียกกันว่า SNS (Social Network Service) แพลตฟอร์มที่ชาวญี่ปุ่นนิยมอย่าง Twitter และ Instagram ก็มักมีการลงข่าวสารซีรีส์ วันเริ่มฉาย ช่องทางการรับชม ข่าวการวางจำหน่ายแผ่น ขายสินค้า บ้างก็แจกรางวัล รี สุ่ม แจก ให้ผู้ชมได้ติดตามและร่วมสนุกเช่นเดียวกัน
ในบทความนี้เราเลยจะมาแนะนำคำศัพท์ที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับมือใหม่ หรือใครก็ตามที่มีความสนใจติดตามข่าวสารซีรีส์ญี่ปุ่นกันค่ะ
รูปภาพ : tirachardz (freepik)
ก้าวแรกสู่สังเวียน
ไม่ใช่มวยแต่อย่างใด แต่เป็นก้าวแรกในการตามซีรีส์ญี่ปุ่น เรามาเริ่มจากการติดตามข่าวสารทาง Official Account กันค่ะ นอกจากตราสัญลักษณ์ยืนยันของแต่ละแพลตฟอร์มที่ทำให้เรารู้ว่านี่ล่ะ ‘ของจริง’ วิธีสังเกตยังมีคำว่า ‘公式‘ (Koushiki) ในภาษาญี่ปุ่นที่หมายถึง Official อีกด้วย มั่นใจว่าเป็นแหล่งข้อมูลออฟฟิเชียลแล้วก็ตามข่าวได้เลย!
กำหนดซีรีส์ฉายตอนแรก (初回, Shokai) ตอนจบ (最終回, Saishukai) ออกอากาศทางช่องทางใด โดยหากเป็นการออกอากาศทางโทรทัศน์มักจะใช้คำว่า ‘放送‘ (Housou) ส่วนการเผนแพร่แบบออนไลน์จะใช้คำว่า ‘配信’ (Haishin)
นอกจากนั้นที่แอคเคาน์ก็จะมีการอัพไฮไลท์ ตัวอย่างของแต่ละตอนด้วย เช่น ตอนที่ 2 ก็จะเป็น ‘第2話’ (Dai ni wa) ในช่วงที่ออกอากาศผู้ชมสามารถติดตามลุ้นแต่ละตอนไปพร้อม ๆ กันได้ค่ะ
公式 (Koushiki) = Official, อย่างเป็นทางการ
放送/配信する (Housou/Haishinsuru) = ออกอากาศ/ฉายออนไลน์
第○○話 (Dai…wa) = ตอนที่…
最終回 (Saishukai) = ตอนจบ
初回 (Shokai) = ตอนแรก
全○○話 (Zen….wa) = ทั้งหมด…ตอน (จำนวนตอนทั้งหมด)
ใครร่วมแสดงบ้าง ใช่นักแสดงที่เราชื่นชอบหรือเปล่านะ
ถัดจากวันเวลาฉาย ไปดูเรื่องของนักแสดงกันบ้าง นอกจากพล็อตซีรีส์ที่น่าสนใจแล้ว ก็ต้องบอกว่าอีกปัจจัยความปัง ความดังของซีรีส์แต่ละเรื่อง นักแสดงก็มีอิทธิพลมากเช่นเดียวกัน บางเรื่องแฟนคลับนักแสดงอาจจะตามมาชมตั้งแต่ยังไม่รู้เรื่องราวเลยด้วยซ้ำ หรือบางคนอาจจะเพิ่งมาชอบ โดนตกจากซีรีส์เรื่องนั้นก็ได้ นับว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ส่งเสริมกัน เรามาดูศัพท์เกี่ยวกับนักแสดงในบทบาทต่าง ๆ ในกองถ่ายซีรีส์กัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการตามหารายชื่อนักแสดงที่ชื่นชอบนะคะ
主役 (Shuyaku) = บทบาทนำ
主人公 (Shujinkou) = ตัวละครเอก
脇役 (Wakiyaku) = บทบาทสมทบ
ヒーロー/ヒロイン (Hiiro/Hiroin) = พระเอก/นางเอก
悪役 (Akuyaku) = ตัวร้าย
俳優/女優 (Haiyuu/Joyuu) = นักแสดงชาย / นักแสดงหญิง
エキストラ (Ekisutora) = เอ็กซ์ตร้า ตัวประกอบฉาก
監督 (Kantoku) = ผู้กำกับ
撮影現場 (Satsuei Genba) = สถานที่ถ่ายทำ
クランクイン/クランクアップ (Kurankuin/Kurankuappu ) = เปิด/ปิดกล้อง
募集する (Boshusuru) = รับสมัคร
最終回まであと1時間〜‼️
24時59分から #DK風呂場♨️お風呂の現場での
大人の雰囲気漂う⁉️
仲良しクランクアップ写真です。#長谷川忍#平田敦子#野間口徹#じろう#秋山寛貴#賀屋壮也#水川かたまり pic.twitter.com/tV08QGSYPL— 【公式】シンドラ「でっけぇ風呂場で待ってます」Huluにて配信中♨️ (@dkfuroba) April 5, 2021
ตัวอย่างทวิตเตอร์ Official Account ของซีรีส์ญี่ปุ่น
จะหลบ จะขุดสปอยล์ ก็มาเลยจ้ะ
หากเป็นมนุษย์ชอบอ่านสปอยล์ ฉันขอรู้ก่อน! ขอเสนอคำว่า ‘ネタバレ’ (Netabare) คำนี้เดิมใช้กันในวงการสื่อสารมวลชน ในความหมายว่า ข่าวรั่ว มาจาก ‘種’ (Tane) ในความหมาย หัวข้อเรื่อง ข้อมูล อ่านกลับหลังเป็น ‘ネタ’ (Neta) + ‘バレる’ (Bareru) ที่แปลว่า (ความลับ) รั่วไหล ปัจจุบันเป็นที่ใช้กันทั่วไปในความหมายว่า การสปอยล์ ซึ่งจะเป็นภาพยนตร์ ละคร เกม ฯลฯ อะไรก็ได้ที่คนอื่นยังไม่ได้ดู สามารถใช้คำนี้ได้หมด
สำหรับเรา ๆ แฟนไทยจะได้ดูช้ากว่าแฟนญี่ปุ่นที่ดูแบบเรียลไทม์ ‘リアタイで観る’ ถ้าอยากรู้ก็ลองเสิร์ชชื่อเรื่องกับคำว่า ‘ネタバレ’ ดูค่ะ กลับกันการสปอยล์เรื่องราวก่อนผู้อื่นได้ชมกัน บางคนก็มองว่าเป็นมารยาที่ไม่น่ารักนัก เราจะใช้เป็นคีย์เวิร์ดในการหลบสปอยล์ก็ได้เช่นกัน เพราะบางเนื้อหาการโพสต์ หรือทวิตอาจมีการเตือนให้ระวังสปอยล์ ก็จะมีคำว่า ‘ネタバレ注意’ กำกับเอาไว้ค่ะ
ネタバレ (Netabare) = การสปอยล์
ネタバレ注意 (Netabare Chui) = ระวังสปอยล์
種 (Tane) = โดยทั่วไปใช้ในความหมายว่า เมล็ด แต่ในที่นี้หมายถึง หัวข้อเรื่อง ข้อมูลต่าง ๆ
バレる (Bareru) = รั่วไหล มักใช้กับคำว่า ความลับ
リアタイで観る (Riatai de Miru) = การชมเรียลไทม์ เป็นคำย่อที่ใช้กันในอินเทอร์เน็ตของคำว่า Realtime (リアルタイム)
ฟอล รี สุ่ม นักล่ารางวัลคือฉันเอง!
ในช่วงการโปรโมทซีรีส์ ตาม Official Account จะมีการโปรโมทหลากหลายวิธี หนึ่งในนั้นคือการแจกของรางวัลให้กับ ผู้ชม (視聴者) อาทิ รูปนักแสดง รูปโพลารอยด์พร้อมลายเซ็น ใบปลิวโปสเตอร์ซีรีส์ หนังสือนิยายต้นฉบับ ซีดีเพลงประกอบละคร เป็นต้น
วิธีการแจกที่คุ้นเคยกันดีแม้แต่ในประเทศไทยเราก็คือ “การฟอล การรี และสุ่มแจก” นั่นเอง บางเรื่องอาจจะมีให้พิมพ์ตอบคำถามบ้างเหมือนกัน โดยในรายละเอียดมักจะมีการระบุจำนวนรางวัลที่แจก เช่น ‘10名様にプレゼント’ (10 Meisama ni Purezento) หมายถึง แจก 10 รางวัล จะได้รางวัลหรือไม่ก็ขึ้นกับแต้มบุญแล้วล่ะค่ะ และถัดจากแต้มบุญคือถ้าได้รางวัล ปกติทางญี่ปุ่นจะไม่จัดส่งต่างประเทศ เพราะฉะนั้นก็ต้องลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้บริการที่อยู่รับของเพื่อส่งกลับมาไทยดูนะคะ
視聴者 (Shichousha) = ผู้ชม
抽選 (Chuusen) = สุ่ม
○○名様 (…Meisama) = ….ท่าน (จำนวนคน)
プレゼント (Purezento)= ของขวัญ ของรางวัล
フォロー/フォロワー (Foroo/Forowa) = Follow / Folower
リツイート (Ritsuiito) = Retweet
引用リツイート (Inyou Ritsuiito) = Quote Retweet
サイン入りチェキ (Sain Iri Cheki) = รูปโพลารอยด์พร้อมลายเซ็น
生写真 (Nama Shashin) = รูปอัด
フライヤー (Furaiyaa) = ใบปลิว
主題歌 (Shudaika) = เพลงประกอบละคร
菅田・神木・仲野が演じるお笑いトリオ『マクベス』のLIVEフライヤー【非売品】を10名様に #プレゼント!🎁
『#コントが始まる』 フォロー&リツイートキャンペーン✨参加方法は簡単!
①@nittele_ntvと@conpaji_ntvをフォロー
③このツイートをRTいよいよ4/17第一話放送!お楽しみに✨ pic.twitter.com/FtKqhnyDem
— 日テレ (@nittele_ntv) April 14, 2021
ตัวอย่างทวิต Official Account ของช่องสถานีโทรทัศน์ที่แจกรางวัลเป็นใบปลิว
เยือนสถานีและไปช็อปปิ้งกัน!
ตามสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ (テレビ局) ที่ญี่ปุ่น เช่น Nippon Terebi, Fuji Terebi, Asahi จะมีร้านขายสินค้าของซีรีส์ (ドラマグッズ) หรือรายการต่าง ๆ ที่ออกอากาศในแต่ละช่อง บ้างก็มีการดีไซน์คาแรคเตอร์จากจุดเด่นในเรื่อง มีสมุดปากกา ดินสอ วาชิเทป ขายกันเป็นเรื่องเป็นราว
บางครั้งภายในร้านจะมีการจัดมุมเกี่ยวกับซีรีส์ที่กำลังออกอากาศอยู่ เป็นนิทรรศการขนาดย่อมก็ว่าได้ อีกสินค้าที่นิยมวางจำหน่ายที่ญี่ปุ่นเลยก็คือหนังสือต่าง ๆ เกี่ยวกับซีรีส์ จะเป็น ‘หนังสือรวมภาพ’ (写真集) หนังสือเบื้องหลังการถ่ายทำ หนังสือตามรอยสถานที่ถ่ายทำ ที่เรียกว่า ‘ロケ地’ (Rokechi) หรือ ‘聖地巡礼’ (Seichijyunrei) ก็ดี คำนี้มีความหมายคือ การออกแสวงบุญของนักบวช แต่ปัจจุบันมีการนำมาใช้กับการตามรอยของคนที่คลั่งไคล้หรือแฟนคลับที่เดินทางไปในสถานที่ที่ปรากฎในผลงานอย่างแพร่หลาย
และหลังจากที่ซีรีส์ฉายจบก็มักจะมีการบันทึกลงแผ่นจำหน่าย ทั้งรูปแบบแผ่นดีวีดีและบลูเรย์ โดยมักจะพบเห็นคนพูดถึงการผลิตในรูปแบบนี้ใน SNS หรือภาษาพูดว่า ‘円盤化’ (Enbanka) ซึ่งคำว่า 円盤 (Enban) หมายถึง ลักษณะสิ่งของที่เป็นแผ่นรูปวงกลม (Disc) มีการใช้คำนี้ในหลากหลายวงการ เช่น ในวงการกีฬาหมายถึง จักรสำหรับขว้าง จานบิน แต่ในบริบทนี้หมายถึงแผ่นดิสก์รูปแบบต่าง ๆ นั่นเอง
テレビ局 (Terebikyoku) = สถานีโทรทัศน์
ドラマグッズ (Dorama Guzzu) = สินค้าจากซีรีส์
写真集 (Shashinshuu) = หนังสือรวมภาพ Photobook
円盤化 (Enbanka) = การบันทึกลงแผ่น
ロコ地/聖地巡礼 (Rokechi/Seichijyunrei) = ตามรอยสถานที่ถ่ายทำ
発売 (Hatsubai) = วางจำหน่าย
ตัวอย่างสินค้าจากซีรีส์ญี่ปุ่น
“Kabe-don, Yuka-don, Kata-zun ซีนเขิน ๆ ที่ต้องมีในซีรีส์ญี่ปุ่น” คลิก
“โป๊ะแตกนิวส์ (Stay Tuned!) โอกาสของคนเพี้ยน” คลิก