Toshigami-sama และธรรมเนียมปฏิบัติส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

เทพเจ้าแห่งปีใหม่ “Toshigami-sama” และธรรมเนียมปฏิบัติเพื่อส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของคนญี่ปุ่น

สำหรับช่วงปีใหม่ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีธรรมเนียมประเพณีที่หลากหลายซึ่งคนญี่ปุ่นปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นธรรมเนียมที่ทำในวันส่งท้ายปีเก่า เช่น การทำความสะอาด การตกแต่งบ้าน หรือในวันขึ้นปีใหม่ เช่น การรับประทานอาหารในวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น ก่อนขึ้นปีกระต่ายที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ UFM ฟูจิ ซูเปอร์ และ ดาโกะ จึงขอชวนเพื่อน ๆ มาเรียนรู้ธรรมเนียมต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องราวของเทพเจ้าแห่งปีใหม่ หรือ โทชิกามิ ซามะ (Toshigami-sama) กัน

Toshigami-sama และธรรมเนียมปฏิบัติส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่


“สุสุฮาราอิ โนะ ฮิ” วันแห่งการทำความสะอาดปัดฝุ่นเขม่า


ตลอดระยะเวลาหนึ่งปีที่มีการสะสมของฝุ่นและเขม่าต่าง ๆ มายาวนาน ก่อนวันขึ้นปีใหม่ คนญี่ปุ่นจึงมีการทำความสะอาดครั้งใหญ่ประจำปี โดยเรียกวันนี้ว่า “สุสุฮาราอิ โนะ ฮิ” (すす払いの日)

ในอดีตได้กำหนดให้ตรงกับวันที่ 13 ธันวาคม โดยถือเป็นวันเตรียมการสำหรับก่อนวันขึ้นปีใหม่และเรียกว่า “โชกัตทสึ โคโตะ ฮาจิเมะ” (正月こと始め) ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีเป็นการทำความสะอาดแท่นบูชาพระพุทธรูปและศาลเจ้าตามความศรัทธา ก่อนจะกลายมาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในการทำความสะอาดสถานที่หรือบ้านเรือนทั่วไปในเวลาต่อมา

ในวันทำความสะอาดครั้งใหญ่นี้จะมีการเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ในบ้านให้ใช้งานสะดวกขึ้น หรือนำสิ่งของที่ไม่จำเป็นทิ้งไป ทำความสะอาดห้องน้ำ ปัดฝุ่นเขม่าต่าง ๆ ตามซอกเล็ก ๆ ที่ปกติแล้วจะทำความไม่ถึง นอกจากนี้ ยังเป็นช่วงที่มีโฆษณาตามสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านและวัดให้เห็นอยู่ประจำด้วย


เทพเจ้าแห่งปีใหม่ (年神様, Toshigami-sama)


“โทชิกามิ ซามะ” (年神様) หรือ เทพเจ้าแห่งปีใหม่ นั้นเป็นเทพเจ้าที่จะเดินทางลงจากภูเขาสูง เพื่อมามอบความสุขให้กับผู้คนในช่วงปีใหม่ มีอีกชื่อคือ “โชกัตสึ ซามะ” หรือ “โทชิโตคุจิน”

ในสมัยก่อนเชื่อว่าวิญญาณของบรรพบุรุษนั้นคือเทพเจ้าแห่งท้องทุ่งและขุนเขาซึ่งจะกลายเป็นเทพเจ้าประจำปีใหม่ เพื่อดูแลความเจริญรุ่งเรืองของลูกหลาน ดังนั้นเพื่อเป็นการรับพรจากโทชิกามิ ซามะ ขนบธรรมเนียมและกิจกรรมต่าง ๆ จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อต้อนรับและเฉลิมฉลองให้กับเทพเจ้าแห่งปีนั่นเอง


ของตกแต่งในวันปีใหม่ และ ระยะเวลาในการตกแต่ง


ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ธรรมเนียมการตกแต่งสำหรับเทศกาลขึ้นปีใหม่ตามบ้านเรือนนั้นได้รับความนิยมลดลง อย่างไรก็ตาม หากเพื่อน ๆ มีโอกาสได้เดินทางไปท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นช่วงดังกล่าวจะยังคงเห็นว่ามีการปฏิบัติตามธรรมเนียมกันอยู่บ้าง นั่นก็เพื่อเป็นการต้อนรับเทพเจ้าแห่งปีใหม่และนำความสิริมงคลมาสู่บ้านที่พักอาศัยนั่นเอง

ตามธรรมเนียมจะต้องมีอะไรบ้าง ควรตกแต่งบริเวณไหนของบ้าน และควรตกแต่งถึงเมื่อไรนั้น มาเรียนรู้กันเถอะ!

คาโดะมัตสึ (かどまつ, Kadomatsu)

ทำหน้าที่เป็นจุดสังเกตให้เทพเจ้าแห่งปีใหม่เข้ามาในบ้าน เป็นสิ่งมงคลที่มีลักษณะคล้ายกระถางต้นไม้ โดยการนำท่อนไม้หรือฟางข้าวมาพันรอบไม้ไผ่สีเขียวสดที่ตัดเฉียง พร้อมตกแต่งรอบ ๆ ด้วยกิ่งสน ปกติจะประดับไว้ที่ประตูบ้าน แต่สำหรับคนที่พักอาศัยในอพาร์ทเม้นต์หรือคอนโดมิเนียม อาจจะติดหรือแขวนไว้ที่ประตูหน้าห้องแทน

ชิเมะนะวะ (しめなわ, Shimenawa) หรือ ชิเมะคาซาริ (しめかざり, Shimekasari)

ชิเมะนะวะ คือ เชือกที่จะแขวนไว้หน้าศาลเจ้า โทริอิ หรือ สถานที่สำหรับประกอบพิธีเกี่ยวกับเทพเจ้า โดยเชื่อกันว่าชิเมะนะวะจะช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้าย สิ่งอัปมงคลทั้งหลายไม่ให้เข้าไปในบริเวณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ได้ ถือเป็นสัญลักษณ์ของความศักดิ์สิทธิ์และความบริสุทธิ์ตามความเชื่อแบบชินโต

การประดับเชือกชิเมะคาซาริ โดยปกติแล้วจะประดับอยู่ที่ด้านบนของประตูบ้าน หรือแท่นบูชา เพื่อเป็นการบ่งบอกว่าสถานที่ดังกล่าวมีความศักดิ์สิทธิ์และเหมาะสมกับเทพเจ้าแห่งปีใหม่ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องกั้นและเครื่องรางได้อีกด้วย

คากามิโมจิ (かがみもち, Kagami mochi)

คากามิโมจิ ถือว่าเป็นสถานที่ที่เทพเจ้าแห่งปีใหม่สถิตอยู่ โดยทั่วไปจะถูกวางประดับอยู่บริเวณที่โล่งหรือห้องนั่งเล่น หากไม่มีสถานที่ในลักษณะดังกล่าว ส่วนมากก็จะประดับคากามิโมจิไว้บริเวณที่คนในครอบครัวใช้ร่วมกัน

นอกจากนี้ คากามิโมจิจะถูกวางไว้ที่ศาลเจ้า ห้องครัว หรือห้องอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งหลังจากนั้นจะมีการนำคากามิโมจิมารับประทานในรูปแบบของโอโซนิหรือการย่าง ถือเป็นการสื่อถึงการนำเอาวิญญานเทพเจ้าเข้าสู่ร่างกายและความโชคดีเข้าสู่ชีวิตนั่นเอง

Toshigami-sama และธรรมเนียมปฏิบัติส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

ควรตกแต่งถึงเมื่อไร

หลังจากทำความสะอาดบ้านทั้งหลังแล้ว คนญี่ปุ่นจะตกแต่งคาโดะมัตสึ ชิเมนะวะ และคากามิโมจิ เพื่อต้อนรับปีใหม่ ซึ่งของตกแต่งวันปีใหม่มีจุดประสงค์เพื่อเชิญชวนเทพเจ้าปีใหม่เข้ามาในบ้าน ดังนั้นสิ่งสำคัญคือต้องวางให้เป็นจุดสังเกตที่ชัดเจน และควรตกแต่งให้เสร็จระหว่างวันที่ 13 – 28 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่หรืออย่างช้าที่สุดคือวันที่ 30 ธันวาคม

ส่วนวันที่ควรหลีกเลี่ยงคือ วันที่ 29 ธันวาคม ซึ่งพ้องเสียงกับความหมายว่า ความลำบากแบบซ้อนสอง, ทุกข์ซ้ำซ้อน ถือเป็นวันอัปมงคล และวันที่ 31 ธันวาคม เรียกว่า “อิจิยะคาซาริ” (一夜飾り) มีความหมายไม่ดี ทำให้นึกถึงงานศพ จึงควรหลีกเลี่ยงวันนี้ เพราะถือเป็นความโชคร้ายและไม่ให้เกียรติเทพเจ้าแห่งปีใหม่นั่นเอง

ควรเก็บของตกแต่งเมื่อไร

ช่วงเวลาตั้งแต่วันปีใหม่ถึงวันที่ 7 มกราคม เรียกว่า “มัตสึโนะอุจิ” (松之内) หรือ “โชกัตสึ” (正月) ถือเป็นช่วงที่เทพเจ้าแห่งปีใหม่จะปรากฏตัว โดยทั่วไปจึงมีนิยมเก็บของประดับตกแต่งปีใหม่ประมาณวันที่ 7 มกราคม (หรือ 15 มกราคมในบางภูมิภาค)


“โอมิโซกะ” (大晦日, Omisoka) วันส่งท้ายปีเก่า


วันสุดท้ายของปี (วันที่ 31 ธันวาคม) เรียกว่า “โอมิโซกะ” ในวันนี้ แต่ละครอบครัวจะรับประทาน “โทชิโคชิ โซบะ” (年越し蕎麦) พร้อมหน้าพร้อมตากัน เพื่อความเป็นสิริมงคล ให้มีอายุยืนยาว เนื่องจากเส้นโซบะมีความบางและยาวจึงเชื่อกันว่าจะช่วยให้มีอายุยืนยาว ช่วยต่ออายุ และการที่เส้นโซบะขาดได้ง่ายนั้นยังถือเป็นการตัดขาดจากสิ่งไม่ดีในปีเก่าอีกด้วย

การรับประทานโทชิโคชิ โซบะนั้นไม่มีเวลากำหนดที่แน่นอน อย่างไรก็ตาม นิยมรับประทานให้เสร็จเรียบร้อยก่อนสิ้นสุดวันส่งท้ายปี พราะหากรับประทานหลังปีใหม่จะถือว่าเป็นอัปมงคล

ระฆังส่งท้ายปีเก่า (除夜の鐘, Joya no Kane)

ในคืนส่งท้ายปีเก่า จะเริ่มมีการตีระฆังวัดตอนประมาณเที่ยงคืน หรือบางแห่งจะเริ่มตี 107 ครั้งภายในวันที่ 31 ธันวาคม และตีครั้งที่ 108 ในวันที่ 1 มกราคม โดยจำนวน 108 ครั้งในการตีระฆังนั้นแสดงถึงความเชื่อเรื่องกิเลส 108 ประการของมนุษย์ เสียงตีระฆังแต่ละครั้งจะช่วยขับไล่กิเลสออกไปทีละอย่างจนหมด เพื่อให้ผู้คนได้เริ่มต้นปีใหม่ด้วยใจบริสุทธิ์

นอกจากเป็นการขจัดความปรารถนาทางโลกหรือกิเลส 108 ประการให้หมดไปแล้ว ยังรวมถึงความหมายของการควบคุมตนเองให้ดำเนินชีวิตไปในทิศทางที่ถูกต้องอีกด้วย

วันขึ้นปีใหม่ (元日, Ganjitsu)

วันแห่งการเริ่มต้นสำหรับปีใหม่ แต่ละครอบครัวจะต้อนรับเทพเจ้าแห่งปีใหม่และอธิษฐานเพื่อให้ได้ผลเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งให้ครอบครัวความปลอดภัยและมีสุขภาพแข็งแรง โดยช่วงเวลาตั้งแต่วันปีใหม่ถึงวันที่ 7 มกราคม เรียกว่า “มัตสึโนะอุจิ” (松之内) หรือ “โชกัตสึ” (正月) ถือเป็นช่วงที่เทพเจ้าแห่งปีใหม่จะปรากฏตัว ดังนั้น คนญี่ปุ่นจะไม่นิยมทำความสะอาดหรือกวาดบ้านในวันที่ 1 มกราคม เพราะจะถือเป็นการกวาดไล่เทพเจ้าแห่งปีใหม่ รวมทั้งไล่ความโชคดีออกจากบ้านไปนั่นเอง


อาหารที่นิยมรับประทานในวันขึ้นปีใหม่


“โอเซจิเรียวริ” (おせち料理, Osechi Ryori) อาหารวันปีใหม่

เดิมทีโอเซจิเป็นเครื่องบูชาแด่เทพเจ้าแห่งปีใหม่ แต่ปัจจุบันคืออาหารที่นิยมรับประทานกันในวันขึ้นปีใหม่ โดยถือว่าการรับประทานอาหารที่ถวายแด่เทพนั้นก็เพื่อที่จะรับพลังของเทพเจ้าเข้าสู่ร่างกายนั่นเอง

"โอเซจิเรียวริ" (おせち料理, Osechi Ryori) อาหารวันปีใหม่

โอเซจิ มีส่วนประกอบหลากหลาย สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ชนิดหลัก ได้แก่ อาหารสำหรับการเฉลิมฉลอง ของย่าง ของต้ม ของหมักดอง และเครื่องเคียง มักถูกจัดเรียงในกล่องเป็นชั้ นๆ ซึ่งเรียกว่า จูบะโกะ (重箱) ซึ่งในอดีต คนญี่ปุ่นมีความเชื่อว่าสามวันแรกของปีไม่ควรใช้เตาไฟหรือทำอาหาร จึงนิยมเตรียมโอเซจิไว้ล่วงหน้า และนิยมรับประทานกันในช่วงวันที่ 1 – 3 มกราคมเป็นเวลาติดกัน 3 วัน

อิวาอิบาชิ (祝箸, Iwaibashi)

ตะเกียบที่ใช้ในการรับประทานโอเซจิ เรียกว่า “อิวาอิบาชิ” โดยบริเวณปลายและด้ามจับของตะเกียบจะมีลักษณะบาง อันหนึ่งสำหรับเทพเจ้าแห่งปีและอีกอันสำหรับมนุษย์ ซึ่งหมายความว่าเทพเจ้าแห่งปีและมนุษย์รับประทานด้วยกัน โดยปกติจะมีการเขียนชื่อของผู้ใช้ไว้บนซองใส่ตะเกียบและจะใช้ตะเกียบนั้นช่วงวันที่ 1 – 3 มกราคมเป็นเวลาติดกัน 3 วัน

อิวาอิบาชิ (祝箸, Iwaibashi)

ฟุคุฉะ (福茶, Fukucha)

ฟุคุฉะ หรือแปลตรงตัวได้ว่า “ชานำโชค” เป็นชาที่นิยมดื่มในวันเซ็ทสึบุน วันส่งท้ายปีเก่า หรือในวันขึ้นปีใหม่ เพื่ออธิษฐานให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง โดยหากเป็นฟุคุฉะที่ดื่มในวันขึ้นปีใหม่จะเรียกอีกอย่างว่า “โอบุคุฉะ” (大服茶, Obukucha)

ส่วนผสมของฟุคุฉะ ได้แก่ อุเมะโบชิ (บ๊วยดอง), สาหร่ายคอมบุเค็ม, ถั่ว (ถั่วแระดำหรือถั่วเหลือง) และพริกไทยญี่ปุ่น

ฟุคุฉะ (福茶, Fukucha)

วิธีทำ
นำส่วนผสมทั้ง 3 อย่าง คือ อุเมะโบชิ (บ๊วยดอง) 1 ลูก, สาหร่ายคอมบุเค็ม ปริมาณตามความเหมาะสม และถั่วแระดำหรือถั่วเหลือง 3 เม็ดใส่ถ้วยแล้วเทน้ำร้อนลงไป โรยด้วยพริกไทยญี่ปุ่นเล็กน้อย เพียงเท่านี้ก็สามารถดื่มได้เลย

“โอโซนิ” (お雑煮, Ozoni) ซุปโมจิ เมนูปีใหม่แบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น

โอโซนิ หรือ ซุปโมจิ เป็นอาหารที่นิยมรับประทานในช่วงปีใหม่ เชื่อกันว่าเป็นโมจิที่มีพลังของเทพเจ้าแห่งปีใหม่ที่หากรับประทานแล้วจะทำให้มีพลัง โดยโอโซนิในแต่ละพื้นที่หรือแต่ละบ้านก็จะมีวัตถุดิบ วิธีการปรุง และวิธีการรับประทานที่แตกต่างกันออกไป อย่างตัวน้ำซุปเองก็มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นซุปแบบใสที่ปรุงมาจากโชยุ, เกลือ, ดาชิ, ชิโระมิโซะ หรือบางที่ก็มีใช้น้ำซุปถั่วแดงด้วยเช่นกัน

"โอโซนิ" (お雑煮, Ozoni) ซุปโมจิ

ข้าวต้มนานะคุสะ หรือ นานะคุสะ กายุ (七草がゆ)

ข้าวต้มนานะคุสะ เป็นอาหารอ่อนที่ใส่ผักและสมุนไพรประจำฤดูใบไม้ผลิ 7 ชนิด ได้แก่ เซริ (せり), นาซึนะ (なずな), โกะเกียว (ごぎょう), ฮาโคะเบระ (はこべら), โฮโตเคะโนสะ (ほとけのざ), ซุสุนะ (すずな) และซุสุชิโระ (すずしろ) ซึ่งคนญี่ปุ่นนิยมทำรับประทานกันในช่วงเช้าของวันที่ 7 มกราคม เพื่อเป็นการขอพรให้มีสุขภาพแข็งแรง และผักสดทั้ง 7 ชนิดยังมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการเหนื่อยล้าของกระเพาะอาหารและลำไส้จากการรับประทานอาหารฉลองปีใหม่อย่างหนักตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา อีกทั้งยังช่วยป้องกันหวัดด้วยการเสริมวิตามินที่มักจะขาดในฤดูหนาวได้เป็นอย่างดีด้วย

ข้าวต้มนานะคุสะ หรือ นานะคุสะ กายุ (七草がゆ)

คากามิโมจิ (鏡餅)

โมจิที่นิยมรับประทานกันในช่วงปีใหม่ และถือเป็นของประดับช่วงปีใหม่ที่มีมาแต่ดั้งเดิมด้วย คากามิโมจินั้นทำจากข้าวเหนียว มีลักษณะเป็นแผ่นวงกลมแบน 2 ก้อนซ้อนกัน ซึ่งเป็นตัวแทนของพระจันทร์และพระอาทิตย์ และด้านบนสุดจะวางผลส้มไว้ ใช้ในสักการะบูชาเทพเจ้าเพื่อขอพรให้มีอายุยืนยาว

ปกติ คากามิโมจิ จะถูกใช้ประดับบ้านหรือบูชาเทพเจ้าจนถึงวันที่ 11 มกราคม* คือวัน “คากามิ บิราคิ” (鏡開き) ก่อนจะนำมาหักเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือใช้ค้อนทุบ แล้วนำไปปรุงอาหารหรือใส่ในซุป รับประทานเป็นโอโซนิหรือโอชิรุโกะ เพื่อขอพรให้มีสุขภาพที่ดี อายุยืนยาว

*คากามิ บิราคิ จะจัดในวันที่ 4, 11, 15 และ 20 มกราคม ซึ่งแตกต่างกันไปตามภูมิภาค แต่โดยทั่วไปคือวันที่ 11 มกราคม


ห้ามพลาด! ฉลองช่วงเวลาสุดพิเศษด้วยสินค้าที่มีจำหน่ายที่ UFM ฟูจิ ซูเปอร์ ทุกสาขา

หากเพื่อน ๆ สนใจอยากจะลองเฉลิมฉลองช่วงปีใหม่ด้วยบรรยากาศและธรรมเนียมแบบญี่ปุ่น ที่ UFM ฟูจิ ซูเปอร์ มีวัตถุดิบในการปรุงอาหารสำหรับเมนูปาร์ตี้เช่น สุกี้ยากี้ สเต็ก ฯลฯ รวมทั้งสิ้นค้าต่าง ๆ สำหรับช่วงปีใหม่ที่น่าสนใจจำหน่ายด้วยเช่นกัน! อาทิ
・คากามิโมจิ
・ลดราคา! วัตถุดิบสำหรับเมนูปีใหม่ของ Kibun (มีจำนวนจำกัด!)

UFM ฟูจิ ซูเปอร์ ทุกสาขา

นอกจากนี้ยังมี ตะเกียบ ถั่วอะซูกิหรือถั่วแดงญี่ปุ่นสำหรับปรุงโอโซนิ และอุปกรณ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ให้เพื่อน ๆ สามารถเลือกซื้อ เลือกช้อปได้ตามอัธยาศัย


โอกาสในการเพิ่มคะแนนบัตรสะสมแต้มมาถึงแล้ว!
สำหรับสมาชิกผู้ถือบัตรสะสมคะแนน “Bonus Card” ของ UFM ฟูจิ ซูเปอร์

ทุกวันที่ 10 ของเดือนรับคะแนนพิเศษเพิ่มถึง 8 เท่า
ทุกวันอาทิตย์ของสัปดาห์เพิ่มคะแนนพิเศษ 5 เท่า!

สำหรับลูกค้าที่ยังไม่ได้สมัครบัตรสมาชิกสามารถสมัครเพื่อรับสิทธิพิเศษนี้ได้ที่จุดบริการลูกค้า UMF Fuji Super ทุกสาขา

*การสมัครสมาชิกต้องใช้หมายเลขบัตรประชาชน (หรือหมายเลยพาสปอร์ต), หมายเลขโทรศัพท์ และที่อยู่
**โปรโมชั่นเพิ่มคะแนนพิเศษอาจมีการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงโดยมิได้แจ้งล่วงหน้า
***สินค้ากลุ่มสุรา, บุหรี่, กระเช้าของขวัญพร้อมส่วนลด, บัตรกำนัล, บัตรโทรศัพท์ (บัตรเติมเงิน ซิมการ์ด), ค่าถ่ายเอกสาร, บริการส่งดอกไม้และผลไม้ของบริษัท Jalux และผลิตภัณฑ์ฝากขาย ไม่สามารถสะสมแต้มได้

UFM Fuji Super สินค้าแนะนำ

UFM Fuji Super สินค้าแนะนำ


อ่าน “โดโย โนะ อุชิ โนะ ฮิ และวัฒนธรรมการกินปลาไหลคลิก

views